16 ก.ค. 2553

ประวัติ วันเข้าพรรษา

วันเข้าพรรษา
ต ร ง กั บ วั น แ ร ม ๑ ค่ำ เ ดื อ น ๘
วันเข้าพรรษา
กําหนดเป็น ๒ ระยะ คือ ปุริมพรรษา และ ปัจฉิมพรรษา
๑ ปุริมพรรษา คือ วันเข้าพรรษาต้น ตรงกับวันแรม ๑ คํ่า เดือน ๘ ของทุกปีจนถึง วันขึ้น ๑๕ คํ่า เดือน ๑๑
๒ ปัจฉิมพรรษา คือ วันเข้าพรรษาหลัง สําหรับปีอธิกมาส คือ มีเดือน ๘ สองหนตรงกับวันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๙ จนถึง วันขึ้น ๑๕ คํ่า เดือน ๑๒

ความหมายของวันเข้าพรรษา
          คือ เป็นวันที่พระภิกษุสงฆ์อธิษฐานว่าจะพักประจําอยู่ ณ ที่แห่งใดแห่งหนึ่ง ตลอดระยะเวลาฤดูฝนมีกําหนด ๓ เดือน ตามพระวินัยบัญญัติ โดยไม่ไปค้างแรมในที่อื่น เรียกกันโดยทั่วไปว่า จําพรรษา

ประวัติความเป็นมา

          แต่ดั้งเดิมในสมัยพุทธกาล พระพุทธเจ้าไม่ได้ทรงบัญญัติพระวินัยให้พระสงฆ์สาวกอยู่ประจําพรรษา เหล่าภิกษุสงฆ์จึงต่างพากันออกเดินทางเผยแพร่พระพุทธศาสนาในสถานที่ต่าง ๆ โดยไม่ย่อท้อ ทั้งในฤดูหนาว ฤดูร้อน และฤดูฝน ต่อมาชาวบ้านได้พากันติเตียนว่า พวกสมณะศากยบุตรไม่ยอมหยุดสัญจรแม้ในฤดูฝน ในขณะที่พ่อค้าและนักบวชในศาสนาอื่น ๆ ต่างพากันหยุดสัญจรในช่วงฤดูฝนนี้ การที่พระภิกษุสงฆ์ จาริกไปในที่ต่าง ๆ แม้ในฤดูฝน อาจเหยียบยํ่าข้าวกล้าชาวบ้าน ได้รับความเสียหาย หรืออาจไปเหยียบยํ่าโดน สัตว์เล็กสัตว์น้อยที่ออกหากินจนถึงแก่ความตาย เมื่อพระพุทธองค์ทรงทราบเรื่องจึงได้วางระเบียบ ให้พระภิกษุสงฆ์เข้าอยู่ประจําที่ ตลอดระยะเวลา ๓ เดือนแห่งฤดูฝน ภิกษุสงฆ์ที่อธิษฐานเข้าพรรษาแล้ว จะไปค้างแรมที่อื่นนอกเหนือจากอาวาส หรือที่อยู่ของตนไม่ได้แม้แต่คืนเดียว หากไปแล้วไม่สามารถกลับมาในเวลาที่กําหนด คือ ก่อนรุ่งสว่าง ถือว่า พระภิกษุรูปนั้นขาดพรรษาแต่หากมีกรณีจําเป็น ๔ ประการ ต่อไปนี้ ภิกษุผู้อยู่พรรษาสามารถกระทํา สัตตาหะกรณียะ คือ ไปค้างคืนที่อื่นได้ โดยไม่ถือว่าเป็นการขาดพรรษา แต่ต้องกลับมาภายในระยะเวลา ๗ วัน คือ


๑ ไปรักษาพยาบาลพระภิกษุ หรือ บิดามารดาที่เจ็บป่วย

๒ ไประงับไม่ให้พระภิกษุสึก

๓ ไปเพื่อกิจธุระของคณะสงฆ์ เช่น ไปหาอุปกรณ์มาซ่อมแซมวัดซึ่งชํารุดในพรรษานั้น

๔ ทายกนิมนต์ไปฉลองศรัทธาในการบําเพ็ญกุศลของเขา

ในการอธิษฐานเข้าพรรษา ณ วัด หรือที่ใดที่หนึ่ง หากมีเหตุจําเป็น ๕ ประการต่อไปนี้ ภิกษุไม่ต้องอาบัติ แม้จะไปอยู่ที่อื่น ได้แก่

๑ ถูกสัตว์ร้ายรบกวน ถูกโจรปล้น วิหารถูกไฟไหม้ หรือถูกนํ้าท่วม

๒ ชาวบ้านถูกโจรปล้น อพยพหนีไป อนุญาตให้ไปกับเขาได้ หรือชาวบ้านแตกเป็น ๒ ฝ่าย ให้ไปกับฝ่ายที่มีศรัทธาเลื่อมใส

๓ ขาดแคลนอาหาร หรือยารักษาโรค

๔ ภิกษุสงฆ์แตกกันหรือมีผู้พยายามทําให้พระภิกษุสงฆ์ในวัดแตกกัน ให้ไปเพื่อหาทางระงับได้

ประโยชน์ในการเข้าพรรษาของพระภิกษุ

เป็นช่วงที่ชาวบ้านประกอบอาชีพทําไร่นา หากพระภิกษุสงฆ์จาริกไปในสถานที่ต่าง ๆ อาจไปเหยียบต้นกล้า หรือสัตว์เล็กสัตว์น้อยให้ได้รับความเสียหายล้มตาย

หลังจากเดินทางจาริกไปเผยแผ่พระพุทธศาสนามาเป็นเวลา ๗-๙ เดือน พระภิกษุสงฆ์จะได้หยุดพักผ่อน

เป็นเวลาที่พระภิกษุสงฆ์จะได้ประพฤติปฏิบัติธรรมสําหรับตนเอง และศึกษาเล่าเรียนพระธรรมวินัย ตลอดจนเตรียมการสั่งสอนประชาชนเมื่อถึงวันออกพรรษา
เพื่อจะได้มีโอกาสอบรมสั่งสอนและบวชให้กับกุลบุตรผู้มีอายุครบบวช อันเป็นกําลังสําคัญในการเผยแผ่ พระพุทธศาสนาต่อไป

เพื่อให้พุทธศาสนิกชนได้มีโอกาสบําเพ็ญกุศลเป็นการพิเศษ เช่น การทําบุญตักบาตร หล่อเทียนพรรษา ถวายผ้าอาบนํ้าฝน รักษาศีล เจริญภาวนา ถวายจตุปัจจัย งดเว้นอบายมุข และมีโอกาสได้ฟังพระธรรมเทศนา ตลอดเวลาเข้าพรรษา

ประเพณี พิธีมงคล
ประเพณีหล่อเทียนเข้าพรรษา

           เป็นประเพณีที่กระทำกันเมื่อใกล้ถึงฤดูเข้าพรรษาซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ พระภิกษุจะต้องอยู่ประจำวัดตลอด ๓ เดือนมาตั้งแต่โบราณกาล การหล่อเทียนเข้าพรรษานี้มีอยู่เป็นประจำ ทุกปี เพราะในระยะเข้าพรรษานี้ พระภิกษุจะต้องมีการสวดมนต์ทำวัตรทุกเช้าเย็นและในการนี้จะต้องมีธูป เทียนจุดบูชาด้วย พุทธศาสนิกชนทั้งหลาย จึงพร้อมใจกันหล่อเทียนเข้าพรรษาสำหรับให้พระภิกษุจุดเป็น การกุศลทานอย่างหนึ่งเพราะเชื่อกันว่าในการให้ทานด้วยแสงสว่าง จะมีอานิสงฆ์เพิ่มพูนปัญญาหูตาสว่างไสว ตามชนบท การหล่อเทียนเข้าพรรษาทำกันอย่างเอิกเกริกสนุกสนานมาก เมื่อหล่อเสร็จแล้ว ก็จะมีการแห่แหน รอบพระอุโบสถ ๓ รอบ แล้วนำไปบูชาพระตลอดระยะเวลา ๓ เดือน บางแห่งก็มีการประกวดการตกแต่งมี การแห่แหนรอบเมืองด้วยริ้วขบวนที่สวยงามและถือว่าเป็นงานประจำปีทีเดียว ในวันนั้นจะมีการร่วมกันทำบุญตักบาตรถวายแด่พระภิกษุสงฆ์ เป็นการร่วมกุศลกันในหมู่บ้านนั้น

ประเพณีการถวายผ้าอาบนํ้าฝน

            การถวายผ้าอาบนํ้าฝนนี้เกิดขึ้นตั้งแต่สมัยพุทธกาลคือ มหาอุบาสิกา ชื่อว่า วิสาขา ได้ทูลขอพระบรมพุทธานุญาต ให้พระสงฆ์ได้มีผ้าอาบนํ้าสําหรับผลัดเปลี่ยนเวลาสรงนํ้าฝนระหว่างฤดูฝน นางวิสาขาจึงเป็นสตรีคนแรกที่ได้ถวาย ผ้าอาบนํ้าฝนแด่พระสงฆ์ ด้วยเหตุนี้ เมื่อถึงวันเข้าพรรษา พุทธศาสนิกชนตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัย จึงนิยมนําผ้าอาบนํ้าฝนไปถวายพระสงฆ์ผู้จะ อยู่พรรษา พร้อมกับอาหารและเครื่องใช้ที่จําเป็นต่าง ๆ

1 ความคิดเห็น:

  1. แหม..เข้ากับเทศกาลเลยนะ เนื้อหาเยอะ...ความรู้บึ้ก ดูท่าเรื่องต่อไปสงสัยจะเอาพวกความหมายในวันสำคัญแน่ๆ เลย

    ตอบลบ